วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การดูลักษณะทั่วไปของถั่วฮามาต้า(ถั่วเวอราโนสไตโล)




ถั่วฮามาต้า เป็นถั่วค้างปี จะมีอายุได้ประมาณ 2-3 ปี ลักษณะเป็นพุ่มเตี้ยตั้งตรง และแตกกิ่งก้านแผ่คลุมพื้นที่ได้กว้าง มีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้ง ทนทานต่อการแทะเล็มและการเหยียบย่ำของสัตว์ได้ดี สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินตั้งแต่ดินทรายจนถึงดินร่วนปนดินเหนียว แต่ถ้าดินเหนียวมากๆจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดี เพราะถั่วฮามาต้าไม่ทนต่อสภาพพื้นที่ดินชื้นแฉะ และมีน้ำท่วมขัง ถั่วฮามาต้าจะสามารถขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด และในถั่วฮามาต้าจะมีโปรตีนอยู่ประมาณ 16-18%
ที่มา พืชอาหารสัตว์พันธุ์ดี เอกสารคำแนะนำของ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่มาของภาพ รักบ้านเกิด.คอม

ปลูกถั่วฮามาต้า



    ถั่วฮามาต้าจะปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์ ซื่งก่อนปลูกต้องมีการเร่งความงอกของเมล็ดก่อนโดยการแช่เมล็ดในน้ำร้อนอุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซลเซียส นาน 5-10 นาที หลังจากนั้น ก็จะใช้เมล็ดที่แช่น้ำร้อนแล้วไปปลูกโดยใช้อัตรา 1.5-2 กิโลกรัม/ไร่ โดยให้หยอดเมล็ดพันธุ์เป็นแถวให้ระยะห่างกัน 30-50 เซ็นติเมตร
    ในกรณีที่ปลูกถั่วฮามาต้า ในพื้นที่ดินทรายเนื้อหยาบหรือดินเหมืองแร่เก่า ควรใส่ปุ๋ยคอกเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดินขณะเตรียมดิน และไถพรวนกลบปุ๋ยคอกก่อนปลูกถั่วอย่างน้อย 3 สัปดาห์ และก่อนปลูกถั่วฮามาต้า ควรใส่ปุ๋ยผสมสูตร 15-15-15 ในอัตราประมาณ 30-50 กิโลกรัม/ไร่ เป็นปุ๋ยรองพื้น สำหรับในปีต่อๆไปควรใส่ปุ๋ยทริปเปิลซุปเปอร์ฟอสเฟต(0-46-0) ในอัตราประมาณ 20-30 กิโลกรัม/ไร่ ในขณะที่ดินมีความชื้นเหมาะสม และสับดินกลบในช่วงต้นฤดูฝนของทุกปี
    ควรกำจัดวัชพืชครั้งแรกหลังจากท่ปลูกถั่วได้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ และกำจัดวัชพืชครั้งที่ 2 หลังจากที่กำจัดวัชพืชครั้งแรกได้ประมาณ 1-2 เดือน

การใช้ประโยชน์ถั่วฮามาต้า



การตัดถั่วฮามาต้ามาให้สัตว์กินครั้งแรก ควรตัดเมื่อถั่วมีอายุ 60-75 วัน โดยให้ตัดสูงจากพื้นดิน 10-15 เซ็นติเมตร สำหรับในกรณีที่ปล่อยสัตว์เข้าแทะเล็ม ควรปล่อยให้แทะเล็มครั้งแรกเมื่อถั่วอายุ 70-80 วัน และหลังจากนั้นจึงจะทำการตัด หรือปล่อยสัตว์เข้าแทะเล็มเป็นช่วงๆในทุกระยะ 30-45 วัน
ที่มา พืชอาหารสัตว์พันธุ์ดี เอกสารคำแนะนำของ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ลักษณะพิเศษของหญ้ากินนีสีม่วง


หญ้ากินนีสีม่วง (Panicum maximum TD 58) เป็นหญ้าในสกุลเดียวกับหญ้ากินนี มีอายุหลายปีลักษณะเป็นกอตั้งตรง สามารถแตกกอได้ดี มีใบขนาดใหญ่ ใบดกและอ่อนนุ่ม และมีลำต้นสูงใหญ่กว่าหญ้ากินนีธรรมดา สามารถทำการเกษตรเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ได้ สามาถปลูกขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ดและหน่อพันธุ์ หญ้ากินนีสีม่วงสามารถทำการเกษตรได้ทุกสภาพทุกพื้นที่ ตั้งแต่ดินเหนียวจนถึงดินทราย ทนทานต่อสภาพพื้นที่แห้งแล้ง และสามารถเติบโตได้ในสภาพร่มเงา และสามารถตอบสนองต่อการให้น้ำและปุ๋ยได้อย่างดี เหมาะสำหรับปลูกในเขตพื้นที่ชลประทาน โดยให้ผลผลิตน้ำหนักแห้งประมาณ 2-4 ตันต่อไร่ต่อปี มีโปรตีนประมาณื 9-10 เปอร์เซ็นต์

วิธีสกัดน้ำมันจากสาหร่าย



การสกัดน้ำจากสาหร่ายสามารถทำได้หลายวิธี ซื่งวิธีการทางกายภาพคือวิธีที่ง่ายที่สุด โดยจะทำการสกัดน้ำมันโดยใช้เครื่องกรองหรือสารเคมีในการแยกสาหร่ายออกจากน้ำที่ใช้เพาะเลี้ยง และจะทำให้สาหร่ายรวมตัวกันเป็นก้อน และจากนั้นก้อนสาหร่ายจะถูกนำไปปั่นในเครื่องเหวี่ยงเพื่อลดความชื้นจากสาหร่าย และขั้นตอนสุดท้ายคือการแยกน้ำมันโดยการใช้สารละลาย เช่นเดียวกับที่สกัดน้ำมันจากพืชน้ำมันชนิดอื่นๆเพื่อแยกร้ำมันออกจากโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตของสาหร่าย
วิธีการสกัดน้ำมันจากสาหร่าย

วิธีการสกัดน้ำมันจากสาหร่าย

ส่วนวิธีการสกัดน้ำมันจากสาหร่ายวิธีอื่นก็สามารถทำได้ เช่น การทำเป็นของเหลวด้วยเคมีความร้อน (Thermochemical Liquidification) วิธีนี้จะเปลี่ยนสาหร่ายไปเป็นน้ำมันโดยการใช้ความร้อนสูงและความดันสูง การสกัดน้ำมันจากสาหร่ายจะได้น้ำมันประมาณ 30-40 เปอร์เซนต์ โดยน้ำหนัก

ที่มา วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ ฉบับที่ 11/2552

การเลือกสภาพแวดล้อมในการทำการเกษตรสาหร่าย



ผู้ผลิตสาหร่ายสไปรูลิน่าในสหรัฐอเมริกา รายที่ใหญ่ที่สุดมีสองบริษัทคือ Earthrise และ Amway โดยฟาร์มทำการเกษตรเลี้ยงสาหร่ายของทั้งสองบริษัทนี้ตั้งอยู่ในเขตทะเลทรายทางตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย ซิ่งตอนกลางวันจะมีอุณหภูมิสูงถึง 50 องศาเซลเซียส แสดงว่าสาหร่ายสามารถทนอากาศร้อนได้ดี
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงสาหร่าย

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงสาหร่าย

และเนื่องจากสาหร่ยที่สามารถผลิตน้ำมัน สามารถเพาะเลี้ยงได้ในน้ำเค็ม จึงไม่มีปัญหาในการแย่งน้ำจืดจากการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ส่วนพื้นที่ที่เหมาะสมในการเลี้ยงสาหร่ายก็คือสภาพทะเลทรายที่แห้งแล้ง ซื่งไม่เหมาะสมที่จะปลูกพืชชนิดอื่นอยู่แล้ว ทำให้ไม่ต้องไปแย่งพื้นที่ปลูกพืชชนิดอื่นๆด้วย อย่างไรก็ตามสาหร่ายสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี แม้ในน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วก็ยังสามารถเพาะเลี้ยงสาหร่ายได้

ที่มา หนังสือเกษตกรรมธรรมชาติ ฉบับที่ 11/2552

การเพาะเลี้ยงสาหร่าย ลดโลกร้อน



สาหร่ายสามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงได้เท่าที่ต้องการ เพราะในการทำการเกษตรสาหร่ายนั้น สาหร่ายจะโตเร็วกว่าพืชชนิดอื่นๆเพราะเติบโตโดยการแบ่งเซลล์ไปเรื่อยๆจนกว่าจะเต็มพื้นที่หรือจนกว่าจะไม่มีสารอาหาร ซื่งในการเจิญเติบโตสาหร่ายจะใช้น้ำและแสงแดดน้อยกว่าพืชทั่วไปและจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมากขึ้นเมื่อมีระดับคาร์บอนไดออกไซด์และธาตุอาหารเพิ่มขึ้น
การเกษตรเรื่องสาหร่าย

การเกษตรเรื่องสาหร่าย

จากการวิจัยพบว่าสาหร่ายจะใช้คาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าพืชชนิดอื่น ซื่งก็จะทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศลดลงไปด้วย