วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การดูลักษณะทั่วไปของถั่วฮามาต้า(ถั่วเวอราโนสไตโล)




ถั่วฮามาต้า เป็นถั่วค้างปี จะมีอายุได้ประมาณ 2-3 ปี ลักษณะเป็นพุ่มเตี้ยตั้งตรง และแตกกิ่งก้านแผ่คลุมพื้นที่ได้กว้าง มีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้ง ทนทานต่อการแทะเล็มและการเหยียบย่ำของสัตว์ได้ดี สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินตั้งแต่ดินทรายจนถึงดินร่วนปนดินเหนียว แต่ถ้าดินเหนียวมากๆจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดี เพราะถั่วฮามาต้าไม่ทนต่อสภาพพื้นที่ดินชื้นแฉะ และมีน้ำท่วมขัง ถั่วฮามาต้าจะสามารถขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด และในถั่วฮามาต้าจะมีโปรตีนอยู่ประมาณ 16-18%
ที่มา พืชอาหารสัตว์พันธุ์ดี เอกสารคำแนะนำของ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่มาของภาพ รักบ้านเกิด.คอม

ปลูกถั่วฮามาต้า



    ถั่วฮามาต้าจะปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์ ซื่งก่อนปลูกต้องมีการเร่งความงอกของเมล็ดก่อนโดยการแช่เมล็ดในน้ำร้อนอุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซลเซียส นาน 5-10 นาที หลังจากนั้น ก็จะใช้เมล็ดที่แช่น้ำร้อนแล้วไปปลูกโดยใช้อัตรา 1.5-2 กิโลกรัม/ไร่ โดยให้หยอดเมล็ดพันธุ์เป็นแถวให้ระยะห่างกัน 30-50 เซ็นติเมตร
    ในกรณีที่ปลูกถั่วฮามาต้า ในพื้นที่ดินทรายเนื้อหยาบหรือดินเหมืองแร่เก่า ควรใส่ปุ๋ยคอกเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดินขณะเตรียมดิน และไถพรวนกลบปุ๋ยคอกก่อนปลูกถั่วอย่างน้อย 3 สัปดาห์ และก่อนปลูกถั่วฮามาต้า ควรใส่ปุ๋ยผสมสูตร 15-15-15 ในอัตราประมาณ 30-50 กิโลกรัม/ไร่ เป็นปุ๋ยรองพื้น สำหรับในปีต่อๆไปควรใส่ปุ๋ยทริปเปิลซุปเปอร์ฟอสเฟต(0-46-0) ในอัตราประมาณ 20-30 กิโลกรัม/ไร่ ในขณะที่ดินมีความชื้นเหมาะสม และสับดินกลบในช่วงต้นฤดูฝนของทุกปี
    ควรกำจัดวัชพืชครั้งแรกหลังจากท่ปลูกถั่วได้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ และกำจัดวัชพืชครั้งที่ 2 หลังจากที่กำจัดวัชพืชครั้งแรกได้ประมาณ 1-2 เดือน

การใช้ประโยชน์ถั่วฮามาต้า



การตัดถั่วฮามาต้ามาให้สัตว์กินครั้งแรก ควรตัดเมื่อถั่วมีอายุ 60-75 วัน โดยให้ตัดสูงจากพื้นดิน 10-15 เซ็นติเมตร สำหรับในกรณีที่ปล่อยสัตว์เข้าแทะเล็ม ควรปล่อยให้แทะเล็มครั้งแรกเมื่อถั่วอายุ 70-80 วัน และหลังจากนั้นจึงจะทำการตัด หรือปล่อยสัตว์เข้าแทะเล็มเป็นช่วงๆในทุกระยะ 30-45 วัน
ที่มา พืชอาหารสัตว์พันธุ์ดี เอกสารคำแนะนำของ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ลักษณะพิเศษของหญ้ากินนีสีม่วง


หญ้ากินนีสีม่วง (Panicum maximum TD 58) เป็นหญ้าในสกุลเดียวกับหญ้ากินนี มีอายุหลายปีลักษณะเป็นกอตั้งตรง สามารถแตกกอได้ดี มีใบขนาดใหญ่ ใบดกและอ่อนนุ่ม และมีลำต้นสูงใหญ่กว่าหญ้ากินนีธรรมดา สามารถทำการเกษตรเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ได้ สามาถปลูกขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ดและหน่อพันธุ์ หญ้ากินนีสีม่วงสามารถทำการเกษตรได้ทุกสภาพทุกพื้นที่ ตั้งแต่ดินเหนียวจนถึงดินทราย ทนทานต่อสภาพพื้นที่แห้งแล้ง และสามารถเติบโตได้ในสภาพร่มเงา และสามารถตอบสนองต่อการให้น้ำและปุ๋ยได้อย่างดี เหมาะสำหรับปลูกในเขตพื้นที่ชลประทาน โดยให้ผลผลิตน้ำหนักแห้งประมาณ 2-4 ตันต่อไร่ต่อปี มีโปรตีนประมาณื 9-10 เปอร์เซ็นต์

วิธีสกัดน้ำมันจากสาหร่าย



การสกัดน้ำจากสาหร่ายสามารถทำได้หลายวิธี ซื่งวิธีการทางกายภาพคือวิธีที่ง่ายที่สุด โดยจะทำการสกัดน้ำมันโดยใช้เครื่องกรองหรือสารเคมีในการแยกสาหร่ายออกจากน้ำที่ใช้เพาะเลี้ยง และจะทำให้สาหร่ายรวมตัวกันเป็นก้อน และจากนั้นก้อนสาหร่ายจะถูกนำไปปั่นในเครื่องเหวี่ยงเพื่อลดความชื้นจากสาหร่าย และขั้นตอนสุดท้ายคือการแยกน้ำมันโดยการใช้สารละลาย เช่นเดียวกับที่สกัดน้ำมันจากพืชน้ำมันชนิดอื่นๆเพื่อแยกร้ำมันออกจากโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตของสาหร่าย
วิธีการสกัดน้ำมันจากสาหร่าย

วิธีการสกัดน้ำมันจากสาหร่าย

ส่วนวิธีการสกัดน้ำมันจากสาหร่ายวิธีอื่นก็สามารถทำได้ เช่น การทำเป็นของเหลวด้วยเคมีความร้อน (Thermochemical Liquidification) วิธีนี้จะเปลี่ยนสาหร่ายไปเป็นน้ำมันโดยการใช้ความร้อนสูงและความดันสูง การสกัดน้ำมันจากสาหร่ายจะได้น้ำมันประมาณ 30-40 เปอร์เซนต์ โดยน้ำหนัก

ที่มา วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ ฉบับที่ 11/2552

การเลือกสภาพแวดล้อมในการทำการเกษตรสาหร่าย



ผู้ผลิตสาหร่ายสไปรูลิน่าในสหรัฐอเมริกา รายที่ใหญ่ที่สุดมีสองบริษัทคือ Earthrise และ Amway โดยฟาร์มทำการเกษตรเลี้ยงสาหร่ายของทั้งสองบริษัทนี้ตั้งอยู่ในเขตทะเลทรายทางตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย ซิ่งตอนกลางวันจะมีอุณหภูมิสูงถึง 50 องศาเซลเซียส แสดงว่าสาหร่ายสามารถทนอากาศร้อนได้ดี
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงสาหร่าย

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงสาหร่าย

และเนื่องจากสาหร่ยที่สามารถผลิตน้ำมัน สามารถเพาะเลี้ยงได้ในน้ำเค็ม จึงไม่มีปัญหาในการแย่งน้ำจืดจากการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ส่วนพื้นที่ที่เหมาะสมในการเลี้ยงสาหร่ายก็คือสภาพทะเลทรายที่แห้งแล้ง ซื่งไม่เหมาะสมที่จะปลูกพืชชนิดอื่นอยู่แล้ว ทำให้ไม่ต้องไปแย่งพื้นที่ปลูกพืชชนิดอื่นๆด้วย อย่างไรก็ตามสาหร่ายสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี แม้ในน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วก็ยังสามารถเพาะเลี้ยงสาหร่ายได้

ที่มา หนังสือเกษตกรรมธรรมชาติ ฉบับที่ 11/2552

การเพาะเลี้ยงสาหร่าย ลดโลกร้อน



สาหร่ายสามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงได้เท่าที่ต้องการ เพราะในการทำการเกษตรสาหร่ายนั้น สาหร่ายจะโตเร็วกว่าพืชชนิดอื่นๆเพราะเติบโตโดยการแบ่งเซลล์ไปเรื่อยๆจนกว่าจะเต็มพื้นที่หรือจนกว่าจะไม่มีสารอาหาร ซื่งในการเจิญเติบโตสาหร่ายจะใช้น้ำและแสงแดดน้อยกว่าพืชทั่วไปและจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมากขึ้นเมื่อมีระดับคาร์บอนไดออกไซด์และธาตุอาหารเพิ่มขึ้น
การเกษตรเรื่องสาหร่าย

การเกษตรเรื่องสาหร่าย

จากการวิจัยพบว่าสาหร่ายจะใช้คาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าพืชชนิดอื่น ซื่งก็จะทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศลดลงไปด้วย

ผลิตสาหร่ายน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับอนาคต


  
 จากการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้ได้ข้อสรุปที่กล่าวได้ว่า สาหร่าย(Algae) เป็นพืชที่ผลิตน้ำมันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในบรรดาพืชทั้งหมดบนโลกนี้ ในอนาคตสาหร่ายจึงเป็นพืชพลังงานที่มีความสำคัญมกที่สุด
    โดยนักวิทยาศาสตร์ที่สถานีทดลองพลังงานทดแทนแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา(NREL) ได้เพาะเลี้ยงและรวบรวมสาหร่ายไว้กว่า 300 สายพันธุ์ที่เจริญเติบโตโดยการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์และผลิตน้ำมัน โครงการไบโอดีเซลจากสาหร่ายของ NREL ได้สร้างบ่อสำหรับเพาะเลี้ยงสาหร่ายไว้ในหลายพื้นที่รวมทั้งบริเวณใกล้ทะเลทรายในนิวเม็กซิโก ผลการทดลองทำให้ต้องประหลาดใจกับปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้
    โดยสาหร่ายจะเจริญเติบโตเร็วมาก คิดเป็นน้ำหนักได้ 50 กรัมต่อตารางเมตร/วัน ดังนั้นในบ่อทดลองที่มีขนาด 1,000 ตารางเมตร จึงสามารถผลิตสาหร่ายได้ 50,000 กรัม/วัน (50กิโลกรัม/วัน) ซื่งสาหร่ายสามารถสกัดไปเป็นน้ำมันได้ถึง 50 เปอร์เซนต์ ก็เท่ากับในบ่อพื้นที่ 1,000 ตารางเมตรก็จะได้น้ำมัน 25 กิโลกรัม/วัน ดังนั้นใน 1 ปีก็จะสามารถผลิตน้ำมันได้ 9,125 กิโลกรัม (7,600ลิตร) ซื่งสามารถผลิตน้ำมันได้มากกว่าพืชชนิดอื่น เช่น คาโนลา หลายเท่า
    นักวิจัยของ NREL ยังระบุว่าหากมีการพัฒนาการเพาะเลี้ยงและการสกัดน้ำมันจากสาหร่าย แบบโรงงานขนาดใหญ่ ต้นทุนในการผลิตน้ำมันไบโดีเซลจากสาหร่ายจะมีเพียงลิตรละ 12 บาท เท่านั้น

คอกเลี้ยงหมูต้นทุนต่ำ



    การเลี้ยงหมูแบบเก่านั้นเกษตรกรนิยมทำคอกหมูโดยใช้ปูนเพื่อง่ายต่อการทำความสะอาดและการดูแลคอกหมู ซึ่งนั้นก็เป็นสาเหตุหลักเช่นกันที่ทำให้หมูมีอาการเครียด หงุดหงิด และทำให้ป่วยได้ง่าย แต่ในปัจจุบันเกษตรกรได้มีการปรับเปลี่ยนโรงเรือนในการเลี้ยงหมูใหม่ โดยมีพื้นที่อ่อนกว่าเดิม คอกหมูควรมีขนาดที่รองรับจำนวนหมูได้เป็นอย่างดีไม่ควรแคบจนเกินไปเพราะจะทำให้หมูอึดอัดและเกิดอาการเครียดได้ อีกทั้งยังจะนำมาซึ่งโรคระบาดอีกด้วย สิ่งแรกที่เกษตรกรต้องทำคือการขุดพื้นของคอกหมูโดยให้มีความลึกประมาณ 90 ซม. จากนั้นให้ทำการมุงหลังคาโดยชายคาต้องมีขนาดกว้างพอเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ฝนสาดเมื่อถึงฤดูฝน หลังจากนั้นให้ทำการตีฝาคอกหมู โดยต้องใช้ไม้ไฝ่หรืออิฐบล็อคกั้นบริเวณรอบคอกหมูให้มีความลึกลงไปจากพื้นดินประมาณ 40-50 ซม. เพื่อป้องกันหมูออกจากคอก ข้อควรระวังคือ บริเวณที่ทำคอกหมูต้องไม่เป็นที่ ๆ มีน้ำท่วมขังและต้องเป็นที่ร่มหรือใต้ร่มไม้ มีอากาศถ่ายเทได้ดี เนื่องจากหมูเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบอากาศร้อน



วิธีการเตรียมพื้นคอกหมู



เมื่อเกษตรกรขุดหลุมเสร็จแล้ว ให้ทำการปูพื้นคอก โดยมีส่วนผสมดังนี้ แกลบ 10 ส่วน ดินละเอียด 1 ส่วน จากนั้นให้นำส่วนผสมทั้ง 2 อย่างเทลงก้นหลุมที่ขุดไว้ให้มีความหนาประมาณ 30 เซนติเมตร จากนั้นให้ใช้เกลือเม็ดประมาณครึ่งลิตรโรยหน้าแล้วนำน้ำหมักชีวภาพ 2 ช้อนผสมลงในน้ำ 10 ลิตร รดให้ทั่วจากนั้นให้ทำอีก 2 ชั้นจนเท่าระดับพื้นดิน จากนั้นให้ทิ้งไว้ประมาณ 10 วัน เกษตรกรค่อยนำหมูเข้าไปไว้ในคอก และควรทำการราดน้ำหมักชีวภาพลงบนคอกทุก ๆ 5-7 วัน ครั้งละ 1 บัว เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ

วิธีการปลูกส้มโอ



ฤดูที่เหมาะสำหรับปลูกส้มโอมากที่สุดคือช่วงต้นฤดูฝน โดยเกษตรกรต้องทำการขุดหลุมให้มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร จากนั้นให้ผสมดิน ปุ๋ยคอก และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตเข้าด้วยกันแล้วเทลงในหลุมประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม นำถุงต้นกล้าส้มโอลงในหลุมให้ปากถุงสูงกว่าระดับปากหลุมปลูกเล็กน้อย จากนั้นให้ใช้มีดกรีดถุงออกอย่างระมัดระวังอย่าให้ดินแตกออกจากต้นกล้า จากนั้นให้กลบดินบริเวณโคนต้นกล้าส้มโอให้แน่น นำไม้มาปักและนำเชือกมาผูกเพื่อยึกหลักและต้นส้มโอให้อยู่ด้วยกัน จากนั้นให้น้ำเศษหญ้าหรือฟางคลุมหน้าดินเพื่อป้องมดหรือแมลง รดน้ำให้โชก

วิธีการดูแลรักษาไผ่ตง



    การให้น้ำไผ่ตง ต้นไผ่ตงปลูกใหม่ในระยะแรกจะขาดน้ำไม่ได้เกษตรกรจะต้องคอยดูแลรดน้ำให้ดินมีความชื้นอย่างสม่ำเสมอ หลังจากนั้นเมื่อไผ่ตงตั้งตัวได้ดีแล้ว เกษตรกรควรเว้นระยะห่างออกไป ความถี่ของการให้น้ำขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นของดินและเมื่อถึงฤดูแล้งควรหาวัสดุ เช่น หญ้าแห้ง ฟางแห้ง คลุมบริเวณโคนต้น เพื่อรักษาความชื้นให้กับดิน
    การใส่ปุ๋ยไผ่ตง ในช่วงปีแรกไผ่ตงสามารถใช้ปุ๋ยที่คลุกเคล้าไปกับดินปลูกได้ในระยะปีต่อ ๆ ไปจำเป็นจะต้องมีการไถพรวนและใส่ปุ๋ย หลังจากเก็บหน่อขายแล้วจะทำการตัดแต่งกอและไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืช ปกตินิยมไถพรวนในช่วงเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน ก่อนที่ดินจะแห้ง เพราะถ้าดินแห้งจะไถพรวนได้ยาก การใส่ปุ๋ยจะใส่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ปุ๋ยที่นิยมคือปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักโดยจะใส่ในอัตรา 1-1.5 ตันต่อไร่ หรืออาจใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 อัตรา 2-4 กก. ต่อกอ ร่วมกับปุ๋ยคอก

การดูแลรักษามะนาว



    การให้น้ำ ในช่วงที่ปลูกมะนาวใหม่ๆ ควรให้น้ำวันละครั้งเป็นอย่างน้อย หลังจากมะนาวมีอายุประมาณ 15 วัน ให้น้ำเดือนละ 2-3 ครั้ง และควรหาวัสดุมาคลุมดินบริเวณโคนต้น เพื่อช่วยรักษาความชื้น ควรเริ่มงดให้น้ำ ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมจนถึงช่วงออกดอกเพื่อให้มะนาวสะสมอาหารให้สูงถึง ระดับที่สามารถสร้างตาดอกได้ ปกติมะนาวจะออกดอก เดือนเมษายน-พฤษภาคม หลังจากมะนาวออกดอก และกำลังติดผลอ่อน เป็นช่วงที่มะนาวต้องการน้ำมาก เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของผล
    การใส่ปุ๋ย หลังจากมะนาวอายุได้ 3-4 เดือน ควรใส่ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ประมาณต้นละ 0.5 กิโลกรัม โดยใส่บริเวญรอบทรงพุ่ม แล้วก็ให้น้ำตามเพื่อ ให้ปุ๋ยละลายเมื่อมะนาวอายุ 1 ปี ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ต้นละ 300 กรัม และเมื่อมะนาวอายุ 2 ปี ก็เพิ่มปริมาญปุ๋ยโดยใส่ปีละ 2 ครั้ง ๆ ละประมาณ 1 กิโลกรัม และเมื่อมะนาวอายุย่างเข้าปีที่ 3 ก็จะเริ่มให้ผลผลิต ช่วงระยะก่อนออกดอกประมาณ 1-2 เดือน ให้ใส่ปุ๋ย สูตรที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น สูตร 12-24-12 หรืออาจใช้ปุ๋ยสูตร 3-10-10 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะที่ยังไม่ออกดอก และใช้สูตร 0-52-34 ในระยะเร่งการออกดอก ประมาณ 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น
    การกำจัดวัชพืช ด้วยวิธี ถอน ถาง หรือใช้เครื่องตัดหญ้า แต่ต้องระวังอย่าให้เกิดบาดแผลตามโคนต้น หรือกระทบกระเทือนราก หรือจะใช้สารเคมี เช่น พาราชวิท ไกลโฟเสท ดาวพอน โดยการใช้จะต้องระวัง อย่าให้สารพวกนี้ปลิวไปถูกใบมะนาวเพราะอาจเกิดอันตรายได้ เช่นทำให้ ใบไหม้เหลืองเป็นจุดๆ หรือไหม้ทั้งใบ ดังนั้นจึงควรฉีดพ่นตอนลมสงบ
    การค้ำกิ่ง เมื่อมะนาวใกล้จะผลิดอกออกผล ต้องมีการค้ำกิ่งให้กับต้นมะนาวด้วย เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักหรือฉีกขาดโดยเฉพาะในช่วงติดผล และยังช่วยลดความเสียหาย เนื่องจากโรคและแมลงได้ โดยวิธีการค้ำกิ่ง สามารถทำได้ 2 วิธี คือ 1. การค้ำกิ่งโดยการใช้ไม้รวกหรือไม์ไผ่ทำเป็นง่าม สอดเขัากับกิ่งมะนาว ให้ปลายอีกข้างหนึ่งวางตั้งรับน้ำหนักของกิ่งอยู่บนพื้นดิน แล้วใช้เชือกผูกมัดกิ่งไว้ 2. การค้ำกิ่งแบบคอกหรือนั่งร้าน โดยเอาไม้มาทำเป็นนั่งร้านรูปสี่เหลี่ยนรอบๆ ต้นมะนาวเพื่อรองรับกิ่งใหญ่ ๆ ของมะนาวไว้ อาจทำเป็น 2-3 ชั้น แล้วให้กิ่งพาดอยู่ที่ชั้นใดก็ได้ ซึ่งวิธีนื้จะมั่นคงทนทาน และใชัประโยชน์ได้ดีกว่าวิธีแรก
    การตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้มะนาวมีทรงพุ่มสวยและให้ผลดกปราศจากการทำลายของโรคและแมลง การตัดแต่งกิ่งควรทำหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว โดยตัดกิ่งที่เป็นโรค กิ่งแห้ง กิ่งที่ไม่มีประโยชน์ออกให้หมด แล้วนำไปเผาทำลาย อย่าปล่อยทิ้งไว้ตามโคนต้น เพราะจะทำให้เป็นแหล่งสะสมโรคได้

การเตรียมดินปลูกอ้อย




การเตรียมดินปลูกจะมีผลต่อผลผลิตของอ้อยตลอดระยะเวลาที่ไว้ตอ เพราะ การปลูกอ้อย 1 ครั้ง สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ถึง 3-4 ปี หรือมากกว่า โดยทั่วไปหลังจากตัดอ้อยตอปีสุดท้ายแล้ว เกษตรกรมักจะเผาเศษซากอ้อยและตออ้อยเก่าทิ้ง เพื่อสะดวกต่อการเตรียมดิน หลังจากไถกลบเศษซากอ้อยลงดินแล้ว ควรมีการปรับหน้าดินให้เรียบและมีความลาดเอียงเล็กน้อย เพื่อสะดวกในการให้น้ำและระบายน้ำออกจากแปลงกรณีฝนตกหนัก และป้องกันน้ำขังอ้อยเป็นหย่อมๆ เมื่อปรับพื้นที่แล้ว ถ้าเป็นแปลงที่มีชั้นดินดาน ควรมีการใช้ไถระเบิดดินดาน ไถลึกประมาณ 75 เซนติเมตร โดยไถเป็นตาหมากรุก หลังจากนั้น จึงใช้ไถจาน และพรวนตามปกติ
การเตรียมดินปลูกอ้อย

การเตรียมดินปลูกอ้อย

ข้อควรระวังในการเตรียมดิน
ไม่ควรที่มีลักษณะเปียกหรือแห้งจนเกินไป สภาพดินที่จะไถควรมีความชื้นที่พอดี วิธีการไถให้ไถจานสลับกับไถหัวหมู เพื่อไม่ให้ความลึกของรอยไถอยู่ในระดับเดิมตลอด และไม่ควรไถจนดินละเอียดเป็นฝุ่น เพราะเมือถูกฝนหรือเวลาให้น้ำจะทำให้ดินอุดอยู่ตามช่องว่างระหว่างเม็ดดิน ทำให้การระบายน้ำและอากาศไม่ดี

การเลือกพันธุ์อ้อย


พันธุ์อ้อยที่ใช้ควรเป็นพันธุ์ที่ปรับตัวได้ดีกับสถาพแวดล้อม ในแต่ละแหล่งปลูก พันธุ์อ้อยที่เกษตรกรใช้ในปัจจุบัน ในแต่ละภาคจะหลากหลายมาก และส่วนใหญ่เกษตรกรจะเป็นผู้ทดสอบเองว่าอ้อยพันธุ์ไหนเหมาะสมกับสถาพดินของ ตนเอง
  • อ้อยโรงงาน
    อ้อยพันธุ์ อู่ทอง 6 สภาพพื้นที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย เขตกึ่งชลประทาน
    อ้อยพันธุ์ มุกดาหาร สภาพพื้นที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนเหนียวปนทรายในจังหวัดมุกดาหาร และกาฬสินธุ์
    อ้อยพันธุ์ อู่ทอง 5 สภาพพื้นที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย เขตใช้น้ำฝนภาคกลาง และภาคตะวันออก
    อ้อยพันธุ์ ขอนแก่น 1 สภาพพื้นที่เหมาะสม ดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    อ้อยพันธุ์ อู่ทอง 4 สภาพพื้นที่เหมาะสม ภาคตะวันตก เฉพาะในดินร่วนปน ดินเหนียว
    อ้อยพันธุ์ อู่ทอง 3 สภาพพื้นที่เหมาะสม ดินร่วนปนทรายสภาพไร่ ใน ภาคตะวันตกและ ภาคเหนือตอนล่าง
    อ้อยพันธุ์ อู่ทอง 2 สภาพพื้นที่เหมาะสม เขตชลประทาน ภาคกลางและ ภาคตะวันตก
    อ้อยพันธุ์ อู่ทอง 1 สภาพพื้นที่เหมาะสม ภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม
    อ้อยพันธุ์ ชัยนาท 1 สภาพพื้นที่เหมาะสม ภาคตะวันออก

    การเลือกพันธุ์อ้อย
  • อ้อยเคี้ยว อ้อยพันธุ์ สุพรรณบุรี 72 สภาพพื้นที่เหมาะสม ดินร่วนเหนียว ดินร่วนปนทราย ที่สามารถให้น้ำได้
    อ้อยพันธุ์ สุพรรณบุรี 50 สภาพพื้นที่เหมาะสม ในเขตภาคกลางและ ภาคตะวันตก

    การเตรียมพันธุ์อ้อย
    อ้อยพันธุ์ กำแพงแสน 94-13 สภาพพื้นที่เหมาะสม ดินร่วนทราย เขตน้ำฝน
    อ้อยพันธุ์ กำแพงแสน 98-005 สภาพพื้นที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย เขตชลประทาน
    อ้อยพันธุ์ กำแพงแสน 98-024 สภาพพื้นที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย ดินเหนียว เขตน้ำฝน และเขตชลประทาน
    อ้อยพันธุ์ กำแพงแสน 00-148 สภาพพื้นที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย เขตน้ำฝน
    อ้อยพันธุ์ กำแพงแสน 00-92 สภาพพื้นที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย เขตน้ำฝน และชลประทาน
    อ้อยพันธุ์ กำแพงแสน 00-58 สภาพพื้นที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย เขตน้ำฝน
    อ้อยพันธุ์ กำแพงแสน 00-24 สภาพพื้นที่เหมาะสม ดินร่วนทราย เขตน้ำฝน
    อ้อยพันธุ์ กำแพงแสน 00-138 สภาพพื้นที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย เขตน้ำฝนและชลประทาน
    อ้อยพันธุ์ กำแพงแสน 01-5 สภาพพื้นที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย ดินเหนียว เขตน้ำฝน และเขตชลประทาน
    อ้อยพันธุ์ กำแพงแสน 01-25 สภาพพื้นที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย เขตน้ำฝน
    อ้อยพันธุ์ กำแพงแสน 01-29 สภาพพื้นที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย เขตน้ำฝน และชลประทาน
    อ้อยพันธุ์ กำแพงแสน 98-038 สภาพพื้นที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย เขตชลประทาน
  • วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

    รายการ วิชาพึ่งตนเอง ตอน ปุ๋ยบำรุงดิน มารู้จักกับ พืชที่ทำน้ำหมักชีวะภาพได้

    รายการ วิชาพึ่งตนเอง ตอน ปุ๋ยบำรุงดิน มาเรียนรู้จักกับการบำรุงดิน และ วิธีการนำพืชที่ มีคุณสมบัติ  ต่างต่าง ที่ แตกต่างกันมา เช่น พืชรสขมใช้กำจัดแมลง รสจืดใช้บำรุงดิน และวิธีการทำน้ำหมักในแบบต่างๆ

    ช่วงที่ 1 สมุนไพร 7 รส สำหรับการเกษตร
    ช่วงที่ 2 ทำยาหม่องจากไพรกับพริกขี้หนู
    ช่วงที่ 3 ผลิตก๊าซชีวภาพในครัวเรือน

    รายการวิชาพึ่งตนเอง โดย สสส. และบริษัท ทีวีบูรพา จำกัด ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 15.05-15.30 น. ทาง ThaiPBS



    รายการ วิชาพึ่งตนเอง ตอน มหัศจรรย์นมแม่ การเลี้ยงดูและให้นมลูกน้อยอย่างถูกวิธี

    รายการ  วิชาพึ่งตนเอง ตอน มหัศจรรย์นมแม่ นำเสนอเรื่องเด่น วิธีการเลี้ยงดูลูกน้อยอย่างถูกวิธี

    ช่วงที่ 1 วิธีไล่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลด้วยน้ำมันเครื่องใช้แล้ว
    ช่วงที่ 2 การให้นมลูกอย่างถูกวิธี
    ช่วงที่ 3 ผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปลาดุก

    รายการวิชาพึ่งตนเอง โดย สสส. และบริษัท ทีวีบูรพา จำกัด ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 15.05-15.30 น. ทาง ThaiPBS


    รายการ วิชาพึ่งตนเอง ตอน สวยด้วยธรรมชาติ เครื่องสำอางแบบสมุนไพรไทย

    รายการวิชาพึ่งตนเอง ตอน สวยด้วยธรรมชาติ


    ช่วงที่ 1 วิธีการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลด้วยแมลง
    ช่วงที่ 2 การนวดสัมผัสเด็กแรกเกิด
    ช่วงที่ 3 การทำครีมสมุนไพรรักษาฝ้าจากหัวไชเท้า

    รายการวิชาพึ่งตนเอง โดย สสส. และบริษัท ทีวีบูรพา จำกัด ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 15.05-15.30 น. ทาง ThaiPBS

    ติดตามรับชมกันเลยครับ


    รายการวิชาพึ่งตนเอง ตอน ง่ายนิดเดียว การดูแลสุภาพ แบบ ธรรมชาติบำบัด

    รายการวิชาพึ่งตนเอง ตอน ง่ายนิดเดียว การดูแลสุภาพ แบบธรรมชาติบำบัดด้วยตัวคุณเอง มารู้จักกับพืชที่เป็นยาชนิดต่างๆ และ วิธีใช้ ยาสมุนไพรที่ถูกวิธี และเรียนรู้สูตรการ แก้ปัญหาดิน แบบต่างๆ โดยปราชญ์ ผู้รู้ เช่น อ.ยักษ์ และหมอเขียวครับ


     รายการวิชาพึ่งตนเอง ตอน

    ฮอร์โมนบำรุงข้าว


    ช่วงที่ 1 ฮอร์โมนบำรุงข้าวจากนมสด ไข่ไก่
    ช่วงที่ 2 สมุนไพรประจำบ้าน
    ช่วงที่ 3 สวนเกษตรในโรงเรียน

    รายการวิชาพึ่งตนเอง โดย สสส. และบริษัท ทีวีบูรพา จำกัด ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 15.05-15.30 น. ทาง ThaiPBS


    รายการวิชาพึ่งตนเอง ตอน วิชาพึ่งตนเอง ตอน ดินเปรี้ยว เค็ม (10พย.55)

    วันนี้พามาชมรายการสาระน่ารู้รายการ

    วิชาพึ่งตนเอง ตอน ดินเปรี้ยว เค็ม 

     ช่วงที่ 1 วิธีแก้ดินเค็ม ดินเปรี้ยว
    ช่วงที่ 2 ออกกำลังกายด้วยยางยืด
    ช่วงที่ 3 ทำสปาจาก ผงถ่าน ผงถั่วเขียว