วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เชื้อราไตรโคเดอร์มา




เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma harzianum) เป็นเชื้อราชั้นสูงเส้นใยมีผนังกั้นเจริญได้ดีในดิน เศษซากพืช ซากของสิ่งมีชีวิตต่างๆ และวัสดุอินทรีย์ตามธรรมชาติ สร้างเส้นใยสีขาวและผลิตส่วนขยายพันธุ์ที่เรียกว่า "โคนิเดีย" หรือ "สปอร์" เมื่อนำมาเพาะเลี้ยงจะเห็นเส้นใยสีขาวและ สปอร์สีเขียว บางชนิดอาจเป็นสีขาวหรือเหลือง เชื้อราไตรโคเดอร์มาจัดเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ (Antagonis fungicide) ที่สามารถใช้ควบคุมโรคพืชในดินหลายชนิดโดยวิธีการเบียดเบียนหรือ เป็นปรสิต แข่งขันหรือแย่งใช้อาหารที่เชื้อโรคต้องการ นอกจากนี้เชื้อราไตรโคเดอร์มายังสามารถช่วยละลายแร่ธาตุในดินให้อยู่ในรูป ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและชักนำให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อเชื้อโรคพืช ทั้งเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช สำหรับกลไกของเชื้อไตรโคเดอร์มาในการต่อสู้กับเชื้อสาเหตุโรคพืชมีดังนี้
- การแข่งขันกับเชื้อโรคพืช ด้วยเหตุที่เชื้อราไตรโคเดอร์มาเจริญสร้างเส้นใยได้รวดเร็ว สามารถสร้างสปอร์ได้ในปริมาณสูงมาก โดยอาศัยอาหารจากเศษวัสดุอินทรีย์ต่าง ๆ จึงช่วยให้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถแข่งขันกับเชื้อโรคพืชหรือจุลินทรีย์ ที่อยู่บริเวณเดียวกัน นอกจากนี้เชื้อไตรโคเดอร์มายังรบกวนกิจกรรมต่าง ๆ ของเชื้อโรคทำให้ความรุนแรงลดลง
- การเป็นปรสิตต่อเชื้อโรคพืช เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถสร้างเส้นใยพันรัดแล้วแทง ส่วนของเส้นใยเข้าสู่ภายในเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืช ทำให้เส้นใยเชื้อโรคพืชตาย และไตรโคเดอร์มายังทำลายโครงสร้างที่เชื้อโรคพืชสร้างขึ้นเพื่อขยายพันธุ์ หรืออยู่ข้ามฤดูปลูก
- การสร้างสารยับยั้งหรือทำลายเชื้อโรคพืช เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถสร้างสารปฏิชีวนะ สารพิษและน้ำย่อย(เอ็นไซม์) เพื่อหยุดยั้งหรือทำลายเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้
- การชักนำให้พืชมีความต้านทานโรค เชื้อราไตรโคเดอร์มาป้องกันระบบรากพืชจากการเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรค พืช ทำให้ระบบรากพืชสมบูรณ์แข็งแรง ช่วยให้เมล็ดงอกและเจริญเติบโตได้ดี ชักนำให้พืชผลิตสารประเภทเอนไซม์หรือโปรตีน เช่น เพนทิลไพโรน กรดฮาร์เซียนิค กระตุ้นให้เกิดความต้านทานโรคขึ้นภายในพืช

ประโยชน์ของการใช้ไตรโคเดอร์มา
ควบคุม ทำลายหรือยับยั้งเชื้อราในดินสาเหตุโรคพืชทั้งราชั้นสูงและราชั้นต่ำ เช่น
1. ทำลายเชื้อราพิเทียม (Pythium spp.) สาเหตุโรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า โคนเน่า โรคยอดเน่าในพืชไร่ มะเขือเทศ พืชผักชนิดต่างๆ
2. ทำลายเชื้อราไฟทอฟเทอร่า (Phytopthora spp.) สาเหตุโรคราที่ทำให้ผลร่วง ดอกร่วง
ใน ลำใย ลิ้นจี่ โรคดอกรวงในทุเรียน โรครากเน่า-โคนเน่า ใน พริก ทุเรียน ส้ม มะนาว พริกไท แตงโม แตงกวา แตงร้าน มะเขือเทศและโรคเน่าเข้าไส้ในกล้วย ฯลฯ
3. ทำลายเชื้อราสเคอโรเทียม (Sclerotium spp.) สาเหตุโรค โคนเน่า โรคกล้าไหม้ ราเม็ดผักกาด โรคเxxx่ยวในพืชผักชนิดต่าง ๆ มะเขือเทศ พืชไร่ สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง
4. ทำลายเชื้อราไรซอกโทเนีย (Rhizoctonia spp.) สาเหตุโรคเน่าคอดิน กล้ายุบ กล้าเน่า ทำให้ทุเรียนเป็นโรคใบติด
5. ทำลายเชื้อราคอลเลทโททริกัม (Colletotrichum spp.) สาเหตุโรคแอนแทรคโนสในมะม่วง องุ่น ฝรั่ง พุทรา ชมพู่ มะละกอ พริก หอมหัวใหญ่ หอมแบ่ง หอมแดง กระเทียม มันฝรั่ง
6. ทำลายเชื้อราอัลเทอนาเรีย (Alternaria spp.) สาเหตุโรคโรคใบจุดเน่าในพืชตระกูลกระหล่ำ เช่น ผักคะน้า ผักกาดขาว กระหล่ำดอก กระหล่ำปลี บรอคโครี่ สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง พริก
7. ทำลายเชื้อรา ฟิวชาเรียม (Fusarium spp.) สาเหตุโรคใบไหม้ในไม้ผล พืชไร่ พืชผักชนิดต่างๆ ตลอดจนไม้ดอก ไม้ประดับ

วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา
- การใช้หว่าน/โรย/ผสมดิน
อัตรา เชื้อสด:รำละเอียด:ปุ๋ยคอก (1:4:100)
วิธีการ
• เตรียมเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดที่เลี้ยงบนปลายข้าวหรือข้าวฟ่าง 1 กิโลกรัม รำข้าวละเอียด 4 กิโลกรัม และปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 100 กิโลกรัม หรือเตรียมปริมาณมากกว่านี้โดยใช้xxxส่วน 1:4:100 โดยน้ำหนัก
• นำเชื้อไตรโคเดอร์มา คลุกเคล้ากับรำข้าวละเอียดให้เข้ากันอย่างทั่วถึง จากนั้นนำส่วนผสมที่ได้ไปผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ คลุกให้เข้ากันอย่างทั่วถึง อาจพรมน้ำให้พอชื้นเพื่อลดการฟุ้งกระจาย
• ส่วนผสมที่ได้สามารถนำไปใช้หว่านหรือโรยลงบนแปลงปลูกพืช โคนต้นพืช หรือผสมกับดินในหลุมปลูก

- การใช้ผสมน้ำฉีดพ่น
อัตรา เชื้อสด 1,000 กรัม/น้ำ 200 ลิตร
วิธีการ
นำเชื้อไตรโคเดอร์มาชนิดสดที่เลี้ยงบนปลายข้าว หรือข้าวฟ่างเติมน้ำ พอท่วมตัวเชื้อแล้วขยำเนื้อข้าวให้แตกออกจนได้น้ำเชื้อสีเขียวเข้ม กรองน้ำเชื้อด้วยผ้าหรือกระชอนตาถี่ล้างกากที่เหลือบนกระชอนด้วยน้ำอีกจำนวน หนึ่ง จนเชื้อหลุดจากเมล็ดข้าวหมด นำน้ำเชื้อที่กรองได้มาเติมน้ำให้ครบในอัตราเชื้อสด 1,000 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร เมล็ดข้าวที่อยู่บนกระชอน สามารถใช้คลุกกับรำข้าวหรือปุ๋ยอินทรีย์ แล้วนำไปหว่านลงบนแปลงปลูกหรือโคนต้นพืชได้


- การใช้คลุกเมล็ดพันธุ์
อัตรา เชื้อสด1-2 ช้อนแกง/เมล็ด 1 กิโลกรัม
วิธีการ
ใส่เชื้อ 1-2 ช้อนแกง ลงในถุงพลาสติกที่จะใช้คลุกเมล็ด เติมน้ำ 10 ซีซี แล้วบีบเชื้อสดให้แตกตัว เทเมล็ด 1 กิโลกรัมลงในถุงเขย่าให้เชื้อสดคลุกเคล้าจนติดผิวเมล็ด นำเมล็ดออกผึ่งลมให้แห้งหรือใช้ปลูกทันที

ข้อแนะนำการใช้เชื้อสดไตรโคเดอร์มาตามกลุ่มพืช (แล้วแต่จุดประสงค์ของการใช้งาน)
- ไม้ผล เช่น ส้ม มะนาว ฝรั่ง มะละกอ ทุเรียน ฯลฯ
อัตราการใช้ *รองก้นหลุมก่อนปลูก 50-100 กรัม/หลุม
*หว่านลงดินใต้ทรงพุ่ม 50-100 กรัม/ตารางเมตร
*ฉีดพ่นต้นและผล 1,000 กรัม/น้ำ 200 ลิตร
*ฉีดพ่นลงดิน 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร
- พืชผักต่าง ๆ เช่น มะเขือเทศ พริก โหระพา กระเพรา หน่อไม้ฝรั่ง คื่นฉ่าย ตระกูลกระหล่ำ หอมหัวใหญ่ ผักชีฝรั่ง ตระกูลถั่ว ตระกูลแตง กระชาย กระเจี๊ยบเขียว ขิง เผือก ฯลฯ
อัตราการใช้ *ผสมดินโดยใส่ส่วนผสมของ เชื้อสด : ดินปลูก อัตรา 1:4
*คลุกเมล็ดขานาดเล็กใช้เชื้อสด 1-2 ช้อนแกง/เมล็ด 1 กิโลกรัม
*คลุกเมล็ดขนาดใหญ่ใช้เชื้อสด 1-2 ช้อนแกง/เมล็ด 1 กิโลกรัม
*หว่านในแปลงปลูก 50-100 กรัม/ตารางเมตร
*รองก้นหลุมและใส่โคนต้นเป็นโรค 50-100 กรัม/หลุม
*ฉีดพ่นกะบะเพาะกล้าและแปลงปลูกพืช 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร
- ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น ดาวเรือง มะลิ เยอบีร่า ชบา เบญจมาศ ตระกูลฟิโลเดนรอน ตระกูลขิง ซ่อนกลิ่น กล็อกซีเนีย กล้วยไม้ ฯลฯ
อัตราการใช้ *ผสมดินโดยใส่ส่วนผสมของ เชื้อสด : ดินปลูก อัตรา 1:4 โดยปริมาตร
*หว่านในแปลงเพาะกล้า 50-100 กรัม/ตารางเมตร
*โรยในกระถางถุงเพาะ 10-20 กรัม/กระถาง/ถุง
*รองก้นหลุมก่อนปลูก 50-100 กรัม/หลุม
*ฉีดพ่นในกะบะเพาะ แปลงเพาะกล้า แปลงปลูก 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร
*ฉีดพ่นในกระถาง ถุงพะกล้า ก่อนย้ายกล้าปลูก 20-50 ซีซี/กระถาง/ถุง/หลุม
- พืชไร่ เช่น ข้าวบาร์เลย์ ทานตะวัน ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ฯลฯ
อัตราการใช้ *คลุกเมล็ดก่อนปลูก 1-2 ช้อนแกง/เมล็ด 1 กิโลกรัม
*อัตราการฉีดพ่น ลงดิน 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร


ข้อแนะนำและข้อควรระวังในการใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา
1. ความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไตรโคเดอร์มา อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 คือเป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งเป็นช่วงความเป็นกรดเป็นด่างที่พืชปลูกส่วนใหญ่เจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน
2. ควรรดน้ำให้สภาพดินมีความชุ่มชื้น(อย่าให้แฉะ) ในช่วง 7 วันหลังหว่านเชื้อราเพื่อให้เชื้อเจริญเติบโต
3. ควรใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มา ก่อนหรือหลังการหว่านปุ๋ยเคมี 3-5 วัน
4. เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราชั้นสูง สารเคมีที่ควบคุมได้เฉพาะราชั้นต่ำ เช่น เมตาแลกซิล, ฟอสอิธิล-อลูมิเนียม (อาลีเอท), กรอฟอสโฟลิค (โฟลีอาร์ฟอส) แมนโคเซบ ฯลฯ ไม่เป็นอันตรายต่อเชื้อไตรโคเดอร์มา แต่สารเคมีกลุ่ม เบนซิมิดาโซล (benzimidazole) ได้แก่ เบนโนมิล (benomyl) และคาร์เบนดาซิม (carbendazim) ซึ่งเป็นกลุ่มสารเคมีชนิดดูดซึมและใช้ในการป้องกันและกำจัดเชื้อราชั้นสูงจะ มีผลต่อการเจริญของเชื้อไตรโคเดอร์มา แต่หากมีความจำเป็นที่จะต้องฉีดพ่นสารเคมีกลุ่มเบนซิมิดาโซลลงในดิน ควรจะทิ้งช่วงประมาณ 1 สัปดาห์เป็นอย่างต่ำ จึงสามารถใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาได้
5. เชื้อสดไตรโคเดอร์มาที่เลี้ยงขยายจนเต็มที่สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ 1 เดือน
6. เชื้อสดไตรโคเดอร์มากรองเอาน้ำสปอร์ใส่ขวดไว้นั้นถ้ายังไม่ได้ใช้ ควรเก็บไว้ในตู้เย็นไม่เกิน 7 วัน
......

“ไตรโคเดอร์มา” เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในจำพวกของเชื้อราชั้นสูง เส้นใยมีผนังกั้นแบ่ง มีประโยชน์สำหรับใช้ควบคุมโรคพืชที่มีสาเหตุมาจากเชื้อราได้อย่างกว้างขวาง ทั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่เป็นเชื้อราชั้นสูงและชั้นต่ำ

ในประเทศไทยได้มีการศึกษาค้นคว้าประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเวลา นาน โดยเฉพาะเพื่อควบคุมโรคเมล็ดเน่า โรคเน่าระดับดิน โรคกล้าไหม้ โรครากเน่า โรคโคนเน่า บนพืชหลายชนิด เช่น มะเขือเทศ ถั่วเหลืองฝักสด พริก ฝ้าย ข้าวบาร์เลย์ ส้ม ทุเรียน พบว่ามีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรคต่าง ๆ ดังกล่าวได้ดี

สำหรับรูปแบบหรือวิธีการของเชื้อราไตรโคเดอร์มาในการควบคุมเชื้อราโรคพืช คือ 1. แข่งขันกับเชื้อราโรคพืชในด้านแหล่งของที่อยู่อาศัย อาหาร อากาศ และปัจจัยอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต 2. เส้นใยของไตรโคเดอร์มาจะพันรัดและแทงเข้าไปในเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืช 3. เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ที่มีศักยภาพสูงมากชนิดหนึ่ง

ก่อนที่จะนำเชื้อราไตรโคเดอร์มาไปใช้ จำเป็นที่จะต้องนำมาผสมกับรำข้าว (รำใหม่ละเอียด) และปุ๋ยอินทรีย์เสียก่อน ตามอัตราส่วนโดยน้ำหนัก ดังนี้ หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัม : รำข้าว 5 กิโลกรัม : ปุ๋ยอินทรีย์ 25 กิโลกรัม

ปัจจุบันมีชนิดที่จำหน่ายเป็นชุดให้ใช้อัตราตามคำแนะนำของผู้จำหน่ายได้ โดยผสมหัวเชื้อไตรโคเดอร์มา คลุกเคล้าให้เข้ากับรำข้าวให้ดีเสียก่อน แล้วจึงนำไปผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับปุ๋ยอินทรีย์ ก็จะได้ส่วนผสมที่พร้อมจะนำไปใช้โดยแนะให้ 1. ใช้รองก้นหลุมก่อนปลูก 2. ใช้โรยรอบโคนต้น 3. ใช้ทั้งรองก้นหลุมและโรยรอบโคนต้น

ข้อจำกัดและข้อควรระวังในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช มีข้อจำกัดดังต่อไปนี้

1. pH ของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไตรโคเดอร์มา อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 คือเป็นกรดอ่อน ๆ ซึ่งเป็นช่วง pH ที่พืชปลูกส่วนใหญ่ เจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน จึงจำเป็นต้องมีการวัด pH ของดิน และปรับให้เหมาะสมก่อน

2. เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราชั้น สูง จึงถูกทำลายได้ด้วยสารเคมีที่ใช้ในการป้องกัน และกำจัดเชื้อราชั้นสูงโดยเฉพาะสารเคมีในกลุ่มเบนซิมิดาโซล (benzimidazole) ได้แก่ เบนโนมิล (benomyl) และคาร์เบนดาซิม (carbendazim) ซึ่งเป็นกลุ่มสารเคมีชนิดดูดซึม หากจำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมี ควรจะทิ้งช่วงประมาณ 2 สัปดาห์เป็น อย่างต่ำ

3. ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง คือต้นฝน และปลายฝน ห่างกัน 6 เดือน เพราะถ้าอาหาร สภาพแวดล้อม และปัจจัย อื่น ๆ ในดินไม่เหมาะสม เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะหยุดการเจริญเติบโต

ไตรโคเดอร์มาสามารถควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในดิน เช่น เชื้อราพิเทียม (โรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า) เชื้อราไฟทอฟธอรา (โรคโคนเน่า) เชื้อราฟิวซาเรียม (โรคเหี่ยว) เชื้อราสเคลอโรเทียม (โรคโคนเน่า เหี่ยว)เชื้อราไรซ็อค โทเนีย (โรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า)

วิธีการนำเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดไปใช้ให้คลุกเมล็ดพืชผสมปุ๋ยอินทรีย์แล้วหว่านหรือรองก้นหลุม ผสมกับวัสดุปลูก ผสมน้ำฉีด

เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด คือ เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่กำลังเจริญเติบโตอยู่บนวุ้น สำหรับเลี้ยงเชื้อ หรือบนอาหารจำพวกเมล็ดพืช โดยอยู่ในรูปสปอร์สีเขียวปกคลุมวัสดุอาหารอย่างทั่วถึง ไม่มีการปนเปื้อนที่ทำให้เห็นสปอร์เป็นสีอื่นมีเมือกเยิ้ม หรือมีกลิ่นเหม็น ในการผลิตเชื้อรา ไตรโคเดอร์มาชนิดสดเพื่อใช้ควบคุมโรคพืชนั้น จะมีหัวเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่มีประสิทธิภาพสูง เลี้ยงบนปลายข้าว หรือข้าวสุก โดยมีอุปกรณ์ คือ 1. หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา 2. หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 3. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 8x12 นิ้ว 4. ปลายข้าว 5. ยางวง

ด้วยวิธีการ เตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ ดังนี้... 1. หุงปลายข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ใช้ข้าว 3 ส่วน ต่อน้ำ 2 ส่วน 2. ตักข้าวสุกที่ยังร้อนอยู่ใส่ถุงพลาสติกทนร้อนที่เตรียมไว้จำนวน 2 ทัพพี (พูน) หรือประมาณ 250 กรัมต่อถุง 3. กดข้าวให้แบน รีดเอาอากาศออกให้ถุงพลาสติกแนบกับข้าวเพื่อลดการเกิดหยดน้ำทิ้งไว้ให้อุ่น หรือเย็น 4. ใส่หัวเชื้อไตรโคเดอร์มาลงในถุงเพียงเล็กน้อย ประมาณ 1-1.5 กรัม ต่อถุง 5. รัดยางปากถุงให้แน่น แล้วเขย่าหรือบีบข้าวเบา ๆ เพื่อให้เชื้อกระจายทั่วถุง 6. รวบถุงให้บริเวณปากถุงพอง แล้วใช้เข็มเย็บผ้าแทงรอบ ๆ ปากถุง 10-15 แผล 7. กดข้าวในถุงให้แผ่กระจายไม่ซ้อนทับกัน ดึงบริเวณกลางถุงขึ้นเพื่อไม่ให้พลาสติกแนบกับข้าวและเพื่อให้อากาศเข้าไปใน ถุงเพียงพอ 8. บ่มเชื้อเป็นเวลา 2 วัน โดยวางถุงเชื้อในห้องที่ปลอดจากมด ไร และสัตว์อื่น ๆ อากาศไม่ร้อน และไม่ ถูกแสงแดด แต่ได้รับแสงวันละ 6-10 ชั่วโมง/วัน หากแสงไม่พอ ใช้แสงจากหลอดนีออนช่วยได้ 9. เมื่อครบ 2 วัน บีบขยำก้อนข้าวที่มีเส้นใยของเชื้อเจริญอยู่ให้แตกแล้ววางถุงไว้ที่เดิมดึง ถุงให้อากาศเข้าอีก ครั้ง บ่มไว้อีก 4-5 วัน 10. เชื้อสดที่ผลิตได้ควรนำไปใช้ทันที เก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาได้ 1 เดือน

การใช้เชื้อไตรโคเดอร์มามีวิธีดังนี้

1. คลุกเมล็ดเชื้อสด 10 กรัม/เมล็ดพันธุ์ 1 กก. 2. ผสมน้ำฉีด ใช้เชื้อสด 1 กก./น้ำ 200 ลิตร 3. ผสมปุ๋ยหมัก ใช้เชื้อสด 1 กก. ผสมรำละเอียด 5-10 กก. ผสมปุ๋ยอินทรีย์ 40 กก.

หากสนใจข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดระยอง โทร. 0-3861-1578 ศูนย์บริหารศัตรูพืช จังหวัดชลบุรี โทร. 0-3823-1271.
......
ไตรโครเดอร์ เป็นเชื้อราที่ใช้ป้องกันกำจัดราสาเหตุโรคพืช เมื่อมีเชื้อราแล้ว หากจะนำไปใช้ เราต้องขยายเชื้อก่อน
โดย

เชื้อ 1 ส่วน
รำ 4 ส่วน
ปุ๋ยคอก 100 ส่วน

ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วผสมลงดินปลูกได้เลย

สำหรับการเพราะเลี้ยง เชื้อไตรโครเดอร์ม่า(Trichoderma) หรือต่อเชื้อสดนั้นก็มี ดังนี้
(1) หุงปลายข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า โดยใช้ข้าว 3 ส่วน ต่อน้ำ 2 ส่วน จะได้ข้าวที่มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งนิ่ม
(2) ตักข้าวที่หุงสุกแล้ว ประมาณ 2 ทัพพี ใส่ในถุงพลาสติกที่ทนร้อนได้ ใน 1 ถุง จะได้ข้าว ประมาณ 250 กรัม ในขั้นตอนนี้มีข้อสังเกตและข้อพึ่งระวัง เรื่องการตักข้าว ให้ตักข้าวในขณะที่ยังร้อนอยู่ ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยทำลายจุลินทรีย์อื่นๆจากอากาศที่อาจจะปนเปื้อนอยู่ในถุง ข้าวด้วย นั่นก็จะส่งผลทำให้ไม่สามารถรักษาเชื้อสดที่ต้องการนี้ไว้ได้นานนัก
(3) กดข้าว (ที่อยู่ในถุงพลาสติกแล้ว) ให้แบน รีดเอาอากาศออกจากถุง ให้ถุงพลาสติกแนบกับข้าว เพื่อลดการเกิดหยดน้ำ (ในถุงพลาสติก) แล้วก็รอให้ข้าวอุ่นหรือเกือบเย็น จึงจะนำไปใส่หัวเชื้อ (ไตรโครเดอร์มา)
(4) เหยาะหัวเชื้อ (ไตรโครเดอร์มา) 2 – 3 ครั้ง แล้วรัดยางตรงปากถุงให้แน่นก่อน เขย่าหรือบีบข้าวเบาๆ เพื่อให้ผงหัวเชื้อกระจายทั่วทั้งในถุง
(5) รวบถุงให้บริเวณปากถุงพองก่อน ใช้เข็มแหลมแทงบริเวณรอบๆปากถุงที่รัดยางเอาไว้
(6) กดข้าวในถุงให้แผ่กระจาย ดึงบริเวณตรงกลางถุงขึ้น เพื่อไม่ให้พลาสติกแนบติดกับข้าวและเพื่อให้มีอากาศใหม่เข้าไปภายในถุงอย่าง พอเพียง ข้อระวังในขั้นตอนนี้คือ ไม่ควรวางถุงซ้อนทับกัน
(7) บ่มเชื้อทิ้งไว้เป็นระยะเวลา 2 วัน สถานที่ที่บ่มเชื้อต้องมีอากาศถ่ายเทสะดวกและปราศจากสัตว์เลี้ยง รวมถึงสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่จะมารบกวนการแผ่เชื้อในถุง
( เชื้อชนิดสดที่ได้ ควรนำไปใช้ทันทีหรือเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา มีอุณหภูมิอยู่ในช่วงระหว่าง 8 – 10 องศาเซลเซียส ข้อระวังในขั้นตอนนี้ก็จะเป็นเรื่องของการเก็บเชื้อที่ไม่ควรเก็บทิ้งไว้นาน เป็นแรมเดือน

......

http://www.ku.ac.th/e-magazine/april45/agri/trichoderma.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น