วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เศรษฐกิจพอเพียงกับการแก้ปัญหาโลกร้อนของประเทศไทย

เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร
เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมา โดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

จุดเริ่มต้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ผลจากการใช้แนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายใน เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
สำหรับผลของการพัฒนาในด้านบวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุ และสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่ผลด้านบวกเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจายไปถึงคนในชนบท หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย แต่ว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ได้ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลางในการสั่งสินค้าทุน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตก สลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่ม สูญหายไป
สิ่งสำคัญ ก็คือ ความพอเพียงในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเอง และดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้อำนาจและความมีอิสระในการกำหนด ชะตาชีวิตของตนเอง ความสามารถในการควบคุมและจัดการเพื่อให้ตนเองได้รับการสนองตอบต่อความต้อง การต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการจัดการปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นศักยภาพพื้นฐานที่คนไทยและสังคมไทยเคยมีอยู่แต่ เดิม ต้องถูกกระทบกระเทือน ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่และปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นข้อพิสูจน์และยืนยันปรากฎการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของ รัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดีประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่าง ๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาขนโดยทั่วไป

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้
• กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรง อยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของ สังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อ ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา
• คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
• คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้
1.ความพอประมาณหมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภค
2.ความมีเหตุผลหมาย ถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึง ถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
• เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือเงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติเงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
• แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้




๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ ดังนี้
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
ความพอเพียง ที่ว่านี้จึงมิใช่ “แค่นี้พอ”แต่หมายถึง“ความสมดุลพอ” เพื่อให้เกิดความ “มั่นคง และยั่งยืน”



บ้านจำรุงต้นแบบชุมชนพอเพียง




วันที่ 24 สิงหาคม 2551 จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
บ้านจำรุง ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ภาคตะวันออกของประเทศไทย ด้วยสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนเน้นการพึ่งพาตนเอง จนเป็นที่ยอมรับและเป็นตัวอย่างที่ดี มีผู้มาศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดทั้งปี หมู่บ้านจำรุงส่งเสริมให้ประชาชน ได้นำผักพื้นบ้านมารับประทาน อาทิ ดอกอัญชัน ยอดมะระ ขมิ้นชัน ชะอม ใบชะพลู ใบบัวบก ยอดเสม็ดแดง ฯลฯ ใช้ประกอบเป็นอาหารหลัก รวมถึงชวนเชิญนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเป็นลูกค้าของร้านส้มตำจำรุงได้บริโภค ผักพื้นบ้านเหล่านี้ จนกระทั่งได้เป็นสัญลักษณ์ของชุมชน ที่นักท่องเที่ยวรู้จักและคุ้นเคย
กลุ่มผู้สูงอายุบ้านจำรุงเป็นตัวอย่างของการรวมกลุ่มเพื่อสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์คุณภาพมากมาย อาทิ ผลิตข้าวซ้อมมือบรรจุถุงจำหน่ายในร้านค้าของชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี โดยมีโรงสีข้าวชุมชนเองมีการผลิตข้าวซ้อมมืออย่างต่อเนื่อง และนำเศษแกลบรำส่งให้กับกลุ่มเกษตรกรพื้นบ้านทำปุ๋ยชีวภาพ และนำปลายข้าวขายให้กับกลุ่มผู้เลี้ยงตะพาบน้ำนอกจากนี้บ้านจำรุงยังก่อตั้ง กลุ่มธนาคารขยะ ผู้คนในชุมชนได้เห็นคุณค่าของเศษของที่เหลือใช้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ทำให้เด็ก เยาวชนได้รับรู้ถึงขยะสิ่งของเหลือใช้ ปลูกฝังค่านิยม ทัศนคติในการรักษ์สิ่งแวดล้อม
เมื่อมีคนมาศึกษาดูงาน กลุ่ม ผู้ใช้น้ำจะรวมตัวกันทำอาหารเลี้ยง รับรอง โดยใช้ผักพื้นบ้านเป็นอาหารหลัก ให้รับประทาน รายได้นำไปเป็นกองทุนพัฒนาหมู่บ้าน นอกจากนี้บ้านจำรุงยังมีการบริการที่พักชุมชนโฮมสเตย์ ให้กับนักท่องเที่ยว ผู้สนใจในวิถีชีวิตที่เน้นการพึ่งพาตนเอง ได้มาสัมผัสและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันทั้งนี้การบริหารจัดการชุมชน โดยมีแกนนำที่มีศักยภาพ สามารถพัฒนาสังคมชุมชนที่พร้อมต่อการเรียนรู้ นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสาน กับเทคโน โลยีใหม่ ๆ นำมาปรับใช้ในปี 2548 ได้นำชุมชน เครือข่ายชุมชน ผู้นำชุมชน เข้าสู่โครงการมาตรฐานชุมชน (มชช.)

ชาติชาย เหลืองเจริญ ผู้ใหญ่บ้านบ้านจำรุงเข้ามารับหน้าที่นี้ตั้งแต่ปี 2547-2552 เล่าให้ฟังถึงรูปแบบการจัดการชุมชนจนได้รับเลือกให้เป็นชุมชนนำร่องว่า การทำหมู่บ้านให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวนี้ ไม่ได้มุ่งหวังเรื่องเงิน แต่มุ่งหวังเรื่องการเรียนรู้ ปัญหาคือ ชุมชนอ่อนแอเพราะขาดความรู้ ถ้าเราแบ่งคนเป็น 3 ฐาน ฐานที่ 1 คือคนระดับมันสมอง จะไหลออก ไม่อยู่ในชุมชน ผู้ที่เรียนหนังสือจนสำเร็จการศึกษามักไม่กลับไปบ้านเกิด ทำให้ชุมชนอ่อนแอไปเรื่อย ๆ ต้องหาทางให้คนกลุ่มนี้กลับมา ซึ่งยากเพราะแต่ละคนมีภารกิจหน้าที่ต้องดูแลครอบครัวเพราะฉะนั้นจึงต้องทำ ให้คนกลุ่มที่ 2 และ3 ที่อยู่ในพื้นที่ให้เก่งให้ได้ กลุ่มที่ 3 คือฐานล่างที่สุด เพราะมีการเรียนรู้ช้า ต้องใช้เวลาในการพูดคุย หรือทำงานมากกว่ามาตรฐานคนปกติ 3 เท่า จึงจะสามารถขยับตัวขึ้นมาเป็นคนกลุ่มที่ 2 ได้ และทำให้คนกลุ่มที่ 2 พัฒนาเป็นคนกลุ่มที่ 1 แต่ก็อยากให้คนกลุ่มที่ 1 ที่เคยออกจากพื้นที่ กลับมาเยี่ยมเยียนบ้าน เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคนในพื้นที่แค่นั้นก็เพียงพอแล้ว“อีก 10 ปีข้างหน้าหมู่บ้านนี้จะมีองค์ประกอบทุกอย่างพร้อม เราต้องการเด็กที่เก่งเรื่องการเงินสักคนหนึ่งมาบริหารจัดการเรื่องธนาคาร อยากได้ผู้จัดการมินิมาร์ทสักคนหนึ่งมาบริหาร เงินเดือนเพียง 7-8 พันบาทก็อยู่ได้ อยากได้วิศวกรโรงงานสักคนหนึ่ง กินเงินเดือนสักหมื่นมาอยู่ที่โรงงาน สิ่งเหล่านี้ได้วางแผนไว้แล้ว แต่ต้องใช้เวลาต่อไป เพราะเป็นงานพัฒนาคน สร้างคนรุ่นใหม่จากชุมชน ส่งเสริมการศึกษาซึ่งได้มีการวางแผนกันไว้แล้วว่าคนไหนจะไปอยู่จุดไหน” ผู้นำชุมชนบอกถึงทิศทางการพัฒนาชุมชน
วันนี้เราต้องให้ความสำคัญกับชุมชนฐานล่างให้มากขึ้น ให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้มากกว่าผลลัพธ์ ควรมีศูนย์การเรียนรู้ทั่วประเทศไทย เพราะศูนย์การเรียนรู้มีค่า เราจึงเปิดมหาวิทยาลัยที่สอนหลายสิ่งหลายอย่าง อย่างเช่น วิชาส้มตำก็สอนให้ฟรี ถ้าเขากลับไปปลูกมะละกอสัก 5 ต้นก็คุ้มแล้ว สอนทุกเรื่องที่อยากรู้ สามารถนำไปประกอบอาชีพได้โดยไม่ต้องพึ่งพาใครอีก
ปัจจุบันบ้านจำรุงมีทุนทางสังคม ที่ได้จากการเรียนรู้เรื่องของการพึ่งพาตนเองมากว่า 20 ปีเต็ม มีกลุ่มกิจกรรมมากกว่า 20 กลุ่ม มีประสบการณ์ต่าง ๆ มีบุคลากรที่มีความเสียสละเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน มีองค์ความรู้ในตัวเอง มีภูมิปัญญาท้องถิ่น มีประเพณีวัฒนธรรม และมีสื่อทางเลือกในการสื่อสารของตนเอง….เป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านเศรษฐกิจพอ เพียงที่น่าชื่นชม.

ภาวะโลกร้อนคืออะไร
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงคือ การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากผลของ
ภาวะเรือนกระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า Greenhouse Effect โดยภาวะโลกร้อน ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ, การขนส่ง และการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
นอกจากนั้นมนุษย์เรายังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโรคาร์บอน (CFC) เข้าไปอีกด้วยพร้อมๆ กับการที่เราตัดและทำลายป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้ แก่มนุษย์ ทำให้กลไกในการดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากระบบบรรยากาศถูกลดทอน ประสิทธิภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆ ที่เราได้กระทำต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของ ภาวะโลกร้อน


ก๊าซและสารที่มีผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน

1.
ไอน้ำ (H2O)
2.
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
3.
ก๊าซมีเทน (CH4)
4.
ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O)
5.
สารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC)
6.
โอโซน (O3)



การเกิดภาวะโลกร้อน



ในฐานะที่ผมศึกษาอยู่สาขาภูมิศาสตร์ ผมขออธิบายสั้นๆว่า เมื่อพลังงานแสงอาทิตย์ insolationส่องมายังโลกโดยอยู่ในรูปคลื่นสั่น ซึ่งมีความถี่สูงผ่านมากระทบกับชั้นบรรยากาศโลกแล้วบางส่วนจะสะท้อนกลับออก ไปแต่บางส่วนจะลงมากระทบกับพื้นผิวโลกซึ่งในกระบวนการนี้ โอโซน เป็นตัวทำให้ Uv และรังสีที่จะทำลายสิ่งมีชีวิตหายไปหรือลดความเข้มข้นลง ซึ่งถือว่าสำคัญมาก และเมื่อตกมากระทบผิวโลกแล้วจะถูกดูเก็บพลังงานไว้โดย พื้นดินและพื้นน้ำ และจะสะท้อนออกไปในรูปของคลื่นยาว ซึ่งมีความถี่ต่ำ เมื่อสะท้อนขึ้นสู้ชั้นบรรยายแล้วจะถูก ก๊าซพวกเรือนกระจกไม่ให้ผ่านออกไปยังนอกโลก บางส่วนจึงสะท้อนกลับมายังโลกอีกทีและจะเก็บความร้อนไว้เรื่อยๆหรือที่เรียก ว่า ผ้านวมโลก
สาเหตุ
1. ปัจจัยจากธรรมชาติ เช่น พลังสุริยะ การโคจรของโลก ภูเขาไฟ ทวีปเลื่อน เคมีในชั้นบรรยากาศ
2. การเพิ่มประชากรโลก และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
3. ก๊าซเรือนกระจก (GHG) จากมนุษย์ เพิ่มขึ้นจากการใช้พลังงานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
4. พื้นที่ป่าไม้ของโลกลดลง โดยเฉพาะป่าเขตร้อน การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การบุกรุกพื้นที่ชุ่มน้ำ
5. นโยบายของรัฐ ความร่วมมือระดับนานาชาติ ถึง ระดับบุคคล จริยธรรมสิ่งแวดล้อม


ผลจากภาวะโลกร้อน

ภาพประกอบ เอล นิโญ และลา นิโญ ในสภาวะปกติ
เอล นิโญ และลา นิโญ ทั้ง 2 คำนี้เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างการหมุนเวียน ของกระแสอากาศ และกระแสน้ำในมหาสมุทรทั้งบนผิวพื้นและใต้มหาสมุทร แต่เกิดจากภาวะโลกร้อน ทำให้เกิดความผกผันของกระแสอากาศโลกบริเวณเส้นศูนย์สูตร เหนือมหาสมุทรแปซิฟิก


เอล นิโญ
(El Nino)

ภาพประกอบ ปรากฏการณ์ เอล นิโญ
เอล นิโญ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า 'El Nino - Southern Oscillation' หรือเรียกอย่างสั้น ๆ ว่า 'ENSO' หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้
โดยปกติบริเวณเส้นศูนย์สูตรโลกเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ลมสินค้าตะวันออก จะพัดจากประเทศเปรู บริเวณชายฝั่ง
ทวีปอเมริกาใต้ ไปทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก แล้ว ยกตัวขึ้นบริเวณเหนือประเทศอินโดนีเซีย ทำให้มีฝนตกมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ กระแสลมสินค้าพัดให้กระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันทาง ตะวันตกจนมีระดับสูงกว่า แล้วจมตัวลง กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรซีกเบื้องล่างเข้ามาแทนที่กระแสน้ำอุ่นพื้นผิวซีก ตะวันออก นำพาธาตุอาหารจากก้นมหาสมุทรขึ้นมาทำให้ปลาชุกชุม เป็นประโยชน์ต่อนกทะเล และการทำประมงชายฝั่งของประเทศเปรู

เมื่อเกิดปรากฏการณ์เอล นิโญ กระแสลมสินค้าตะวันออกอ่อนกำลัง กระแสลมพื้นผิวเปลี่ยนทิศทาง พัดจากประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลียตอนเหนือไปทางตะวันออก แล้วยกตัวขึ้นเหนือชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ก่อให้เกิดฝนตกหนักและแผ่นดินถล่มในประเทศเปรูและเอกวาดอร์ กระแสลมพัดกระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันบริเวณชายฝั่ง ประเทศเปรู ทำให้กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรไม่สามารถลอยตัวขึ้นมาได้ ทำให้บริเวณชายฝั่งขาดธาตุอาหารสำหรับปลา และนกทะเล ชาวประมงจึงขาดรายได้ ปรากฏการณ์เอล นิโญ ทำให้ฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ แต่ก่อให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียตอนเหนือ การที่เกิดไฟใหม้ป่าอย่างรุนแรงในประเทศอินโดนีเซีย ก็เป็นเพราะปรากฏการณ์เอล นิโญ นั่นเอง

ลา นิโญ
(La Nino)
มีลักษณะตรงข้ามกับเอล นิโญ คือ มีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาวะปกติ แต่ทว่ารุนแรงกว่า กล่าวคือกระแสลมสินค้าตะวันออกมีกำลังแรง ทำให้ระดับน้ำทะเลบริเวณทางซีกตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกสูงกว่าสภาวะปกติ ลมสินค้ายกตัวเหนือประเทศอินโดนีเซีย ทำให้เกิดฝนตกอย่างหนัก น้ำเย็นใต้มหาสมุทรยกตัวขึ้นแทนที่กระแสน้ำอุ่นพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกทาง ซีกตะวันตก ก่อให้เกิดธาตุอาหาร ฝูงปลาชุกชุม ตามบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู
กล่าวง่าย ๆ ก็คือ 'เอล นิโญ' ทำให้เกิดฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในทางกลับกัน 'ลา นิโญ' ทำให้เกิดความแห้งแล้งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดฝนตกหนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทั้ง 2 ปรากฏการณ์นี้ เกิดจากความผกผันของกระแสอากาศโลกบริเวณเส้นศูนย์สูตร เหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ว่าเกิดจากภาวะโลกร้อน

ผลของภาวะโลกร้อน
1.รายงานของ IPCC ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาระบุว่า ในอนาคต อาจเกิดภาวะขาดแคลนอาหารและน้ำ และ ภัยพิบัติต่อสัตว์ป่า
2.ระดับน้ำทะเลอาจสูงขึ้นระหว่าง 7-23 นิ้ว ซึ่งระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเพียง 4 นิ้วก็จะเข้าท่วมเกาะ และพื้นที่จำนวนมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
3.ผู้คนนับร้อยล้านที่อยู่ในระดับความสูงไม่เกิน 1 ฟุต เหนือระดับน้ำทะเล อาจะต้องย้ายถิ่น โดยเฉพาะในสหรัฐ รัฐฟลอริดา และหลุยส์เซียนาก็เสี่ยงเช่นกัน
4.ธารน้ำแข็งละลายอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น อาจส่งผลต่อการขาดแคลนน้ำจืดได้
5.พายุที่รุนแรง ภาวะแห้งแล้ง คลื่นความร้อน ไฟป่า และภัยธรรมชาติต่างๆ จะเกิดขึ้นบ่อยขึ้น จนกลายเป็นเรื่องปกติ ทะเลทรายจะขยายตัวทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารในบางพื้นที่
6.สัตว์นับล้านสปีชี่ส์ จะสูญพันธุ์ จากการไม่มีที่อยู่ ระบบนิเวศน์เปลี่ยนแปลง และน้ำทะเลเป็นกรด
7.การไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทรอาจเปลี่ยนทิศทาง ส่งผลให้เกิดยุคน้ำแข็งย่อยๆ ในยุโรป และภาวะอากาศแปรปรวนในหลายพื้นที่
8.ในอนาคต เมื่อภาวะโลกร้อนอยู่ในขั้นที่ควบคุมไม่ได้ จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า Positive Feedback Effect ซึ่งอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ถูกเก็บ อยู่ในส่วนชั้นน้ำแข็งที่ไม่เคยละลายและ ใต้ทะเลออกมา หรือคาร์บอนที่ถูกน้ำแข็งกับเก็บไว้ ส่งผลให้ภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น


พิธีสารเกียวโต
ในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศสมัยที่ 1 (COP-1) ในปี พ.ศ. 2538 ที่ประชุมเห็นสมควรที่จะเร่งรัดการอนุวัติตามพันธกรณีของประเทศในภาคผนวกที่ 1 ให้บรรลุตามเป้าหมายสูงสุดของอนุสัญญาฯ จึงมีมติให้มีการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ (Ad Hoc Group on the Berlin Mandate:AGBM)ร่างข้อตกลงขึ้นใหม่เพื่อให้มีการบังคับ ให้อนุวัตตามพันธกรณี คณะทำงานได้ทำการยกร่างข้อตกลงดังกล่าวเป็นเวลา 2 ปีครึ่งและได้มีการนำเสนอในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีสมัยที่ 3 (COP-3) ในปี พ.ศ. 2540 และประเทศภาคีมีมติรับรองพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ในการประชุมครั้งนั้น
หลักการที่สำคัญของพิธีสารเกียวโต
1. พิธีสารเกียวโตได้กำหนดข้อผูกพันทางกฎหมาย (Legal binding) ไว้ในกรณีดำเนินการตามพันธกรณี โดยมาตรา 3 ได้กำหนดพันธกรณีในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศภาคีในภาค ผนวกที่ 1 โดยรวมแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 จากระดับการปล่อยโดยรวมของกลุ่มในปี พ.ศ. 2533 ภายในช่วงพ.ศ. 2551-2555
2. มาตรา 3 กำหนดชนิดของก๊าซเรือนกระจกที่ควบคุมภายใต้พิธีสารเกียวโต 6 ชนิด คือ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PCFs) และซัลเฟอร์เฮกซาฟลูโอไรด์ (SF6) โดยกำหนดการลดก๊าซเหล่านี้ให้คิดเทียบเป็นปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 equivalent)
3. กำหนดพันธกรณีเพิ่มเติมให้กับประเทศที่พัฒนาแล้ว และไม่มีการเพิ่มพันธกรณีใดๆให้กับประเทศกำลังพัฒนา
4. มาตรา 18 ของพิธีสารได้กำหนดให้มีขั้นตอนและกลไกในการตัดสิน และดำเนินการลงโทษในกรณีที่ประเทศภาคีไม่ดำเนินการตามพันธกรณีที่กำหนด
5. เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พิธีสารเกียวโตได้กำหนดกลไกยืดหยุ่น (Flexibility Mechanisms) ขึ้น 3 กลไก ดังนี้
· กลไกการทำโครงการร่วม ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 6 ซึ่งกำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้ว สามารถดำเนินโครงการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกันเองระหว่างประเทศ ในกลุ่ม ภาคผนวกที่ 1 ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ เรียกว่า ERUs
· กลไกการพัฒนาที่สะอาด ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 12 ซึ่งกำหนดให้ประเทศในภาคผนวกที่ 1 สามารถดำเนินโครงการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกับประเทศกำลังพัฒนา หรือประเทศในกลุ่ม Non-Annex I ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ จะต้องผ่านการรับรอง จึงเรียกว่า CERs

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น